เธเธงเธฒเธกเธฃเธนเนเนเธเธตเนเธขเธงเธเธฑเธเนเธเธเนเธเธญเธฃเธตเน เนเธเธเนเธเธญเธฃเธตเนเธฃเธเธขเธเธเน : เธฃเธตเนเธเนเธเธดเธฅเนเธเน เธเนเธญเธเนเธชเนเนเธเธชเธดเนเธเนเธงเธเธฅเนเธญเธกเธเนเธงเธข
จันทร์ ที่ 21 เดือน กันยายน พ.ศ.2552
|
|
แบตเตอรี่รถยนต์ : รีไซเคิลได้ ต้องใส่ใจสิ่งแวดล้อมด้วย
ผู้เขียน: วลัยพร มุขสุวรรณ
| |
หน่วยงาน: หน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย
|
วันที่: 7 ก.ย. 2550
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2550 นำเสนอเรื่องราวปัญหาจากโรงงานหลอมตะกั่วจากแบตเตอรี่เก่า ที่จังหวัดนครสวรรค์ ที่ปล่อยทั้งน้ำเสียและอากาศเสียออกมาสร้างความเดือดร้อนให้กับชุมชนใกล้ เคียง ทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมและชาวบ้านเจ็บป่วย
โรง หลอมตะกั่วจากแบตเตอรี่เก่าเป็นตัวอย่างธุรกิจรีไซเคิลที่มีผลกระทบรุนแรง ต่อสิ่งแวดล้อม คน และสัตว์ เนื่องจากประกอบไปด้วยวัสดุและสารที่เป็นพิษ หากต้องการประกอบกิจการนี้ต้องมีมาตรการควบคุมป้องกันที่ให้ความมั่นใจได้ ว่าจะไม่มีการแพร่กระจายของมลพิษ
ส่วนประกอบแบตเตอรี่ชนิดกรด - ตะกั่ว
แบตเตอรี่ ชนิดกรด-ตะกั่วเป็นแบตเตอรี่ชนิดที่ใช้แล้วสามารถอัดกระแสไฟใหม่ได้ รูปแบบที่เห็นใช้กันทั่วไปคือแบตเตอรี่รถยนต์ แบตเตอรี่ชนิดนี้ประกอบด้วย (1) กล่องพลาสติก (2) แผ่นขั้วบวกและขั้วลบที่ทำจากตะกั่ว (3) แผ่นกั้นที่ทำจากวัสดุสังเคราะห์มีรูพรุน (4) สารละลายอิเล็กโทรไลต์คือ สารละลายกรดซัลฟุริก และ (5) ขั้วต่อกับอุปกรณ์ทำด้วยตะกั่ว [http://www.batterycouncil.org/made.html, 31 ส.ค. 50]
การรีไซเคิลแบตเตอรี่ชนิดกรด - ตะกั่ว
Battery Council International กล่าว ไว้ในเว็บไซต์ขององค์กรว่า ส่วนประกอบของแบตเตอรี่กรด-ตะกั่วสามารถรีไซเคิลได้มากกว่าร้อยละ 97 โดยสามารถทำเป็นวงจรปิดคือ รีไซเคิลแบตเตอรี่เก่าเข้าสู่กระบวนการผลิตแบตเตอรี่ใหม่ได้เกือบทั้งหมด การรีไซเคิลแบตเตอรี่ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก (รูปที่ 1) คือ
1. ทำการแยกหรือทำให้แบตเตอรี่แตกเป็นชิ้น ๆ
2. ชิ้น ส่วนแบตเตอรี่จากข้อ 1 ถูกนำไปแยกส่วนที่เป็นพลาสติก (โพลีโพรพีลีน) ออกจากส่วนที่เป็นสารละลายและตะกั่วและโลหะหนักอื่น ๆ แต่ละส่วนจะส่งต่อเข้ากระบวนต่อไป
3. สำหรับชิ้นส่วนที่เป็นพลาสติก จะนำไปล้าง ทำให้แห้ง แล้วส่งต่อไปโรงรีไซเคิลพลาสติกเพื่อหลอมเป็นพลาสติกใหม่
4. แผงตะกั่วจะนำไปหลอมเป็นตะกั่วแท่ง มีการกำจัดสิ่งเจือปนทิ้ง (dross)
5. กรดซัลฟุริก จัดการได้ 2 ลักษณะคือ 1) ทำให้เป็นกลาง แล้วทิ้ง หรือ 2) ทำให้เป็นโซเดียมซัลเฟต
อย่าง ไรก็ดี แม้วัสดุเหล่านี้จะรีไซเคิลได้ แต่วัสดุที่ผ่านการรีไซเคิลจะมีคุณภาพต่ำลงเรื่อย ๆ ตามจำนวนรอบที่ถูกรีไซเคิล ดังนั้นการรีไซเคิลจึงไม่สามารถนำมาเป็นเหตุผลในการเพิ่มปริมาณการใช้
ปริมาณแบตเตอรี่กรด - ตะกั่วในประเทศ
ปริมาณ แบตเตอรี่กรด-ตะกั่วในประเทศไทย มีรายงานว่าในปี พ.ศ. 2545 และ 2546 มีปริมาณการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ (ไม่รวมแบตเตอรี่กรด-ตะกั่วแบบอื่น) ในประเทศประมาณ 12.4 และ 13.2 ล้านลูก ตามลำดับ โดยในปี 2546 มีอัตราขยายตัวร้อยละ 6.8
(ธนาคารแห่งประเทศไทย อ้างโดย http://www.scb.co.th/LIB/th/article/ifct/data/4704-3.pdf ) หากประมาณปริมาณการผลิตในปี 2547 – 2549 โดยใช้อัตราขยายตัวที่ร้อยละ 6 จะได้ปริมาณการผลิตใน 3 ปีดังกล่าวเท่ากับ 14.0, 14.8 และ 15.7 ล้านลูก ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าและส่งออกแบตเตอรี่ชนิดกรด-ตะกั่วมีการเก็บสถิติโดยกรมศุลกากร ซึ่งมีทั้งแบตเตอรี่ที่เป็นของใหม่ยังไม่ได้ใช้งานและที่เป็นของเก่าใช้แล้ว ในระหว่างปี พ.ศ. 2545 – 2549 มีปริมาณการนำเข้าและส่งออกแบตเตอรี่ชนิดนี้ที่เป็นของใหม่ดังรูปที่ 2 ส่วนแบบที่ใช้แล้วแสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ปริมาณการนำเข้าและส่งออกแบตเตอรี่กรด-ตะกั่วที่ใช้แล้ว ระหว่างปี พ.ศ. 2545 - 2549
|
พ.ศ. 2545
|
พ.ศ. 2546
|
พ.ศ. 2547
|
พ.ศ. 2548
|
พ.ศ. 2549
|
ปริมาณนำเข้ารวม, ชิ้น
|
-
|
133
|
1,545
|
2,014
|
70,028
|
ปริมาณส่งออกรวม, ชิ้น
|
-
|
-
|
-
|
50
|
378
|
ดัง นั้น ปริมาณแบตเตอรี่ที่จะเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเท่ากับ แบตเตอรี่ที่ผลิตในประเทศรวมกับที่นำเข้ามาหักลบกับที่ส่งออกไปในแต่ละปี จะพบว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ถึง ปี 2549 มีแบตเตอรี่กรด-ตะกั่วที่อยู่ในประเทศเท่ากับ 74.84 ล้านลูก โดย ประมาณ แบตเตอรี่เหล่านี้อาจนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในธุรกิจรีไซเคิล ซึ่งเป็นธุรกิจที่ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการ ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นต้นเหตุของปัญหาดังกล่าวข้างต้น
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการหลอมตะกั่วจากแบตเตอรี่เก่า
การ ประกอบกิจการหลอมตะกั่วจากแบตเตอรี่เก่า เป็นกิจการที่มีผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม จึงมีกฎข้อบังคับทั้งที่เป็นการเฉพาะและที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก โดยข้อบังคับหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้
1. มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 13/2536 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2536 ห้ามนำเข้าแบตเตอรี่ใช้แล้วชนิดกรด-ตะกั่ว เพื่อนำมาหลอมตะกั่วแท่ง
2. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ได้แก่
นอก จากกฎข้อบังคับข้างต้นแล้วยังมีข้อกำหนดในเรื่องมาตรฐานคุณภาพอากาศที่ระบาย ทิ้ง รวมทั้งคุณภาพน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ที่ต้องปฏิบัติตามด้วย เห็นได้ว่าประเทศไทยมีกฎข้อบังคับสำหรับโรงงานหลอมตะกั่วจากแบตเตอรี่เก่าอยู่หลายฉบับหลายเรื่อง แต่ยังคงเกิดปัญหาเช่นกรณีโรงหลอมตะกั่วที่จังหวัดนครสวรรค์ ที่เป็นข่าวดังกล่าวข้างต้น ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องจึงควรช่วยกันร่วมมือขจัดปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นอีก
รูปที่ 2 การนำเข้า-ส่งออกแบตเตอรี่ชนิดกรด-ตะกั่วที่เป็นของใหม่ระหว่างปี พ.ศ. 2545 – 2549
ที่มาสถิติ: สืบค้นจากเว็บไซต์กรมศุลกากร เมื่อ 29 ส.ค. 2550
เข้าชม : 15446
|
เธเธงเธฒเธกเธฃเธนเนเนเธเธตเนเธขเธงเธเธฑเธเนเธเธเนเธเธญเธฃเธตเน 5 อันดับล่าสุด
เธขเธทเธเธญเธฒเธขเธธเธเธฒเธฃเนเธเนเธเธฒเธเนเธเธเนเธเธญเธฃเธตเน 21 / ก.ย. / 2552
เธเธฒเธฃเธเนเธงเธเนเธเธเนเธเธญเธฃเธตเนเธฃเธเธขเธเธเน 21 / ก.ย. / 2552
เนเธเธเนเธเธญเธฃเธตเนเธฃเธเธขเธเธเนเธเธณเธเธฒเธเธญเธขเนเธฒเธเนเธฃ 21 / ก.ย. / 2552
เนเธเนเธเนเธเธญเธฃเธต เธฃเธเธเธธเธ เธขเธฑเธเธชเธเธฒเธขเธเธตเธญเธขเธนเนเธซเธฃเธทเธญเนเธเธฅเนเธฒ? 21 / ก.ย. / 2552
เนเธเธเนเธเธญเธฃเธตเนเธฃเธเธขเธเธเน : เธฃเธตเนเธเนเธเธดเธฅเนเธเน เธเนเธญเธเนเธชเนเนเธเธชเธดเนเธเนเธงเธเธฅเนเธญเธกเธเนเธงเธข 21 / ก.ย. / 2552
|